คลินิกฝังเข็ม
480
คลินิกฝังเข็ม
/th/menu-acupuncture-clinic-th.html

การฝังเข็มเป็นศาสตร์การรักษาสุขภาพในศาสตร์การแพทย์แผนจีนมาเป็นเวลาหลาย พันปี ชาวจีนโบราณได้ค้นพบวิชานี้จากการบาดเจ็บ เช่น มีของแหลมทิ่มแทงขณะทำงาน หรือต่อสู้ เมื่อบาดแผลทุเลาลงปรากฏว่าโรคประจำตัวบางอย่างหายไปด้วย
วิชาการฝังเข็มด้วยศาสตร์แพทย์แผนจีนจึงเป็นที่แพร่หลายนานาประเทศ มีการศึกษาทดลองจนเป็นที่สนใจและให้ความสำคัญไปทั่วโลก
ตามตำราจีนโบราณค้นพบ จุดฝังเข็มบนร่างกายทั้งหมด 365 จุดกระจายอยู่บนร่างกายที่เรียกว่า “เส้นลมปราณ” ซึ่งเส้นลมปราณแต่ละเส้นจะเชื่อมต่อกับอวัยวะภายในร่างกาย หากพลังลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก หรือ ไหลเวียนติดขัด ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นมาได้ที่เราเรียกว่า ภาวะร่างกายไม่สมดุล (หยิน-หยางไม่สมดุล)

การฝังเข็มรักษาโรคได้อย่างไร
เป็นวิธีการลงเข็มรักษาไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็ม จะมีการประสานการทำงานเป็นระบบองค์รวมโดยผ่านเส้นลมปราณ ในเส้นลมปราณจะมีพลังชี่และเลือดไหลเวียนอยู่ การฝังเข็มจะทำให้จุดฝังเข็มสะท้อนกลับไปปรับสมดุลอวัยวะต่างๆ ที่เสียสมดุลให้กลับมาอยู่ในสภาวะสมดุล
การฝังเข็มเจ็บไหม
การฝังเข็มจะฝังเข็มลงที่กล้ามเนื้อ บริเวณจุดฝังเข็มนั้นๆ ระหว่างเข็มฝังเข้าไปแทบจะไม่มีความรู้สึกของเข็ม หลังจากเข็มเข้าไปแล้วจะรู้สึกอาการตึงๆ หน่วงๆ บางจุดจะชาๆ จื้ดๆ แต่จะไม่มีอาการเจ็บปวดเหมือนโดนฉีดยา เนื่องจากเข็มที่ใช้ฝังเข็มเล็กประมาณ 0.20 mm.
ก่อนการฝังเข็มควรเตรียมพร้อมร่างกายอย่างไร
1. พักผ่อนให้เพียงพอ
2. ไม่หิวหรืออิ่มจนเกินไป
3. ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์ก่อน หรือหลังฝังเข็ม
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติหลังการฝังเข็ม
1. ห้ามออกกำลังกายหักโหมจนเกินไป
2. ว่ายน้ำ (ควรว่ายหลังฝังเข็มประมาณ 2 ชม.)
หลังฝังเข็มอาจมีความรู้สึกตึงๆ แน่นๆ ของเข็มบ้างเล็กน้อย หลังจากนั้นครึ่งชั่วโมงจะหายไปเอง กรณีที่มีอาการปวดบวม เนื่องจากระหว่างฝังเข็มผู้ป่วยมีการขยับหรือเกร็งบริเวณที่ฝังเข็มทำให้ เกิดการรัดตึงที่เข็ม หลังถอนเข็มอาจมีเลือดออกเล็กน้อยหรือเป็นตุ่มก้อน ให้กดค้างไว้ประมาณ 10 วินาที อาจทิ้งรอยจ้ำเขียวๆ เหมือนโดนชนของ ประมาณ 2-3 วันหายเป็นปกติ
การฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง
องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศยอมรับการรักษาโรค และบรรเทาอาการด้วยการฝังเข็มไว้ ดังนี้
กลุ่มอาการปวดต่างๆ
- ปวดต้นคอ ปวดไหล่ ปวดหลัง ปวดเข่า
- ปวดจากการเคล็ดขัดยอก
- ปวดศีรษะ ปวดไมเกรน
- ปวดจากรูมาตอยด์
- ปวดเส้นประสาท หรือปวดเส้นประสาทบนใบหน้า
- ปวดท้องประจำเดือน
- อัมพฤกษ์ อัมพาต และผลข้างเคียงหลังจากป่วยด้วยโรคทางสมอง
โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน
โรคทางหู
- หูมีเสียง (มีเสียงผิดปกติในหู)
- หูอื้อ หูดับ
โรคภูมแพ้
โรคเครียด
- นอนไม่หลับ
- ซึมเศร้า วิตกกังวล
โรคทางผิวหนัง
- สิว ฝ้า
- ผมร่วง
- งูสวัส
- ผื่นต่างๆ
โรคระบบทางเดินอาหาร และลำไส้
- ท้องผูก ท้องเดิน
- ริดสีดวงทวาร
- สะอึก
- ปวดท้องเรื้อรัง
โรคความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตต่ำ
โรคเบาหวาน
ลดความอ้วน กระชับสัดส่วน หรือเพิ่มน้ำหนักในคนผอม
เลิกยาเสพติด เช่น สุรา บุหรี่ ยาเสพติด เป็นต้น
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ วัยทองทั้งหญิงและชาย
โรคอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาเป็นรายไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
โรงพยาบาลกรุงเทพตราด โทร. 039-552-777
ฉุกเฉิน 